ตามที่เราได้เรียนแล้วในบทที่สี่ว่า เพียงเชื่อในพระเยซูคริสต์มิได้ทำให้บุคคลเป็นบุตรของพระเจ้าได้ เพียงแต่เป็นผู้ที่พระเจ้า "ทรงโปรดให้มีอำนาจที่จะเป็นบุตรของพระเจ้าได้" เท่านั้น (โยฮัน 1.12) พระเยซูกล่าวว่า "มิใช่ทุกคนที่เรียกเราว่า พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า จะได้เข้าในเมืองสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัยพระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์จึงจะเข้าได้" (มัดธาย 7.21) เราคงระลึกถึงขุนนางคนหนึ่งที่ "เชื่อในพระเยซู" แต่ไม่ยอมสารภาพอย่างเปิดเผยเพราะว่า "ด้วยว่าเขารักความสรรเสริญของมนุษย์มากกว่าความสรรเสริญของพระเจ้า" (โยฮัน 12.42-43) คำว่า "คริสเตียน" ที่ใช้ในพระคัมภีร์เป็นคำที่ใช้กับคริสเตียนที่เคร่งครัด และซื่อสัตย์ในการติดตามพระคริสต์ต่างหาก การเป็นคริสเตียนไม่ใช่ของง่าย เราเห็นได้ชัดแล้วว่าการที่บุคคลจะเป็นคริสเตียนไม่ใช่เพียงแต่มีความเชื่อเท่านั้น แต่ยิ่งกว่านั้นอีก (กิจการ 11.26, 1เปโตร 4.16)
ก่อนที่เราจะศึกษากันต่อไปให้เราเข้าใจเสียก่อนว่า การที่เราคิดเอาเองว่าเราได้รับความรอดแล้ว มิได้แสดงให้เห็นว่าความคิดอันนั้นถูกต้อง แม้คนทั้งโลกจะกล่าวหาว่าเราเป็นคริสเตียนย่อมไม่เป็นหลักสำคัญที่จะชี้ให้เราเห็นว่าเราเป็นสานุศิษย์ที่ซื่อสัตย์ของพระเยซู พระเจ้าทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ไม่ใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้นพระเจ้าผู้เดียวเท่านั้นจะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์กล่าวได้ว่าเราจะรอด และมีสิทธิ์ที่จะใช้นามของพระบุตรของพระองค์ได้หรือไม่
วิธีที่ง่ายที่สุดในการจะตอบคำถามถึงการที่บุคคลจะทำอย่างไร จึงจะได้รับความรอดหรือเป็นคริสเตียน ก็คือการที่ออกจากความคิดเห็นของมนุษย์ในนิกายใดนิกายหนึ่ง ความประสงค์ของบทเรียนในตอนนี้ มิใช่เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของบรรดานิกายต่าง ๆ เพราะความคิดเห็นของมนุษย์นั้นไม่ว่าจะเป็นด้วยความจริงใจอย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของมนุษย์ก็ยังพลาดอยู่นั่นเอง ตลอดทุกสมัยพวกนิกายเหล่านี้เป็นกลุ่มอันไม่น่าไว้วางใจอย่างยิ่ง (มัดธาย 15.9) คำตอบอันแท้จริงเกี่ยวกับเรื่องจะทำอย่างไรจึงจะรอดนี้ย่อมต้องขึ้นอยู่กับ "พระคัมภีร์สอนไว้ว่า บุคคลจะได้รับความรอดนั้นจะต้องทำอย่างไร?" เพระฉะนั้นขณะที่ท่านศึกษาบทเรียนเหล่านี้ เราใคร่ขอให้ท่านยอมรับสิ่งเหล่านั้นที่สามารถอ่านพบโดยตรงจากพระคัมภีร์เท่านั้น
บทบาทของการเชื่อฟัง
คำสอนที่เราเห็นชัดที่สุดในพระคัมภีร์ก็คือว่า เรารอดโดยพระคุณของพระเจ้าและไม่ใช่ด้วยคุณงามความดีของตัวเราเอง เปาโลกล่าวว่า "แต่พระเจ้าทรงประทานให้ความรอดนั้นเป็นด้วยการประพฤตินั้นก็หามิได้ เพื่อมิให้คนหนึ่งคนใดอวดได้" (เอเฟโซ 2.8-9) ตามที่เราได้เรียนมาแล้วในบทที่สี่ ซึ่งทั้งนี้มิได้หมายความเราไม่สามารถรอดได้ตามโครงการแห่งความรอดซึ่งอยู่ในพระกิตติคุณ พระเจ้าทรงมีเงื่อนไขคือการเชื่อฟังอันมีมาตรฐานในการที่บุคคลจะได้รับพระราชทานความรอดเสมอ และทรงสัญญาว่าสักวันหนึ่งพระองค์จะทรงสนองโทษกับผู้เหล่านั้นที่ไม่เชื่อฟัง เราคงจำข้อความของยาโกโบเกี่ยวกับบทบาทในการเชื่อฟัง "ที่คนใด ๆ เป็นคนชอบธรรมนั้นก็เนื่องด้วยการประพฤติ และมิใช่โดยความเชื่ออย่างเดียว" (ยาโกโบ 2.24)
สมมุติว่ามีบริษัทแห่งหนึ่งเสนอให้รางวัล 2,000 บาท แก่ผู้ที่เขียนจดหมายได้ดีที่สุดถึงการผลิตของบริษัท ผู้ที่ชนะได้รับรางวัลไม่มีผู้ใดกล้ากล่าวได้ว่าการที่บุคคลนั้นได้รับเงิน ไม่ใช่เพียงแต่เขียนจดหมายเท่านั้น 2,000 บาทนั้นก็ยังเป็นเหมือนเงินรางวัลอยู่นั้นเอง ถึงแม้ว่าเป็นการจำเป็นที่บุคคลนั้นจะต้องกระทำอย่างหนึ่ง เพื่อจะได้รับรางวัลอันนั้น คือจะต้องเขียนจดหมายนั่นเอง ในทำนองเดียวกันความรอดนั้นเป็นของประทานจากพระเจ้า แม้ว่าเราจำเป็นต้องผ่านเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อเราจะได้รับของประทานอันนั้น โดยการเชื่อฟังคำตรัสสั่งของพระเจ้าในพระกิตติคุณ
พระเยซูตรัสว่า "ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา ท่านก็จะประพฤติตามบัญญัติของเรา" (โยฮัน 14.15, 23) เพราะฉะนั้นการที่เราล้มเหลวที่จะรักษาตามคำสั่งในพระคริสตธรรมใหม่ พิสูจน์ให้เราเห็นว่าเราไม่ได้รักพระเยซูเลย ไม่ว่าบุคคลจะกล่าวอย่างแข็งขันว่าเขารักพระเยซู แต่ปราศจากความรักที่มีอยู่ในพระคริสต์ ถ้าเป็นความรักที่ไม่นำไปถึงการเชื่อฟัง ความรักนั้นก็ไม่มีประโยชน์อันใดเลย เปาโลกล่าวว่า "แม้ข้าพเจ้ามีความเชื่อพอที่จะยกภูเขาไปได้ แต่ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย (1โกรินโธ 13.2)
ในบทเรียนบทนี้เราจะได้ศึกษาถึงก้าวอันสำคัญ 5 ก้าว ซึ่งได้กล่าวไว้ในพระคริสตธรรมใหม่บอกถึงการที่บุคคลจะได้รับการยกโทษจากความผิดบาป และเป็นคริสเตียนได้อย่างไร
ขอพระเจ้าโปรดประทานสติปัญญาให้ใจของเราเปิดออกโดยไม่มีอคติ และโดยไม่เห็นกับศาสนาที่เราเคยเชื่อมาก่อน ให้เรากล้าที่จะยอมรับกับความบริสุทธิ์ ไม่ลดหย่อนกิตติคุณของพระคริสต์ โดยไม่ทำให้กิตติคุณนั้นเป็นมลทินเพราะข้อคิดเห็นและหลักข้อเชื่อของมนุษย์ผู้เบาปัญญา
ตัวอย่างของการกลับใจเสียใหม่เพื่อเป็นคริสเตียน
เราเรียนในบทที่สองแล้วว่า หนังสือกิจการถูกขนานนามว่าเป็น "หนังสือแห่งการหันกลับมาหาพระเจ้า" เพราะเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ได้บรรยายถึงวิธีการที่บุคคลได้กลับใจเสียใหม่ เพื่อจะเป็นคริสเตียนได้อย่างไรในยุคของพระคริสตธรรมใหม่ ส่วนอื่น ๆ ของพระคัมภีร์ได้บรรยายถึงพระเยซูคริสต์ก่อนที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ และได้ทรงตั้งคำสัญญาไมตรีใหม่ของพระองค์ขึ้น หนังสือกิจการเป็นหนังสือในพระคริสตธรรมใหม่เล่มเดียวที่ประกอบไปด้วยตัวอย่างของการหันกลับมาหาพระเจ้าอย่างไรในยุคนี้ ในหนังสือกิจการนี้เราอ่านพบตัวอย่างของการกลับใจเสียใหม่เป็นคริสเตียน รวมทั้งสิ้นแปดรายด้วยกัน ซึ่งทุก ๆ รายล้วนแล้วแต่ปฏิบัติตามแบบฉบับเดียวกัน ตัวอย่างของการกลับใจเสียใหม่เพื่อเป็นคริสเตียนเหล่านี้ได้นำมาเรียงลำดับไว้เป็นราย ๆ ไปตามแผนผังด้านล่าง เพื่อช่วยในการศึกษาสะดวกขึ้น จากตัวอย่างเหล่านี้เราเรียนรู้ว่าในพระคริสตธรรมใหม่ เขากระทำกันอย่างไรในการที่จะได้รับความรอด สิ่งที่ควรสังเกตก็คือว่า ผู้เขียนหนังสือกิจการไม่มีจุดประสงค์จะพรรณนาแต่ละรายของผู้เหล่านั้นที่กลับใจเสียใหม่ เพื่อมาเป็นคริสเตียนให้ละเอียดได้ บางรายก็บอกไว้ถึงการเชื่อฟังและอันอื่น ๆ เช่นการกลับใจเสียใหม่, การสารภาพ (ตามเครื่องหมาย x ในตารางด้านล่าง) แต่รายอื่น ๆ อาจจะไม่ได้กล่าวไว้ ทั้งนี้มิได้หมายความว่ามันมิได้เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะเป็นคำสั่งของพระเจ้าซึ่งเห็นได้ชัดแล้ว ผู้เขียนจึงไม่จำเป็นต้องบ่งถึงทุกก้าว ๆ หลายครั้งหลายคน เมื่อเราดูผลของการกลับใจเสียใหม่เพื่อเป็นคริสเตียนแต่ละราย เราก็สรุปได้ว่ามีห้าสิ่งหรือห้าก้าวที่สำคัญคือ 1.ได้ยินได้ฟังพระกิตติคุณ 2.เชื่อในพระเยซู 3.กลับใจเสียใหม่จากความบาป 4.สารภาพความเชื่อในพระเยซูคริสต์ 5.รับบัพติศมาเพื่อลบล้างความผิดบาป
ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าการปฏิบัติบางประการมีกล่าวไว้ทุก ๆ รายทีเดียว เครื่องหมาย x (กากบาท) ที่เขียนไว้บนตารางนี้เท่านัันที่ได้บรรยายไว้โดยเฉพาะ แม้ว่าท่านจะคุ้นเคยกับตัวอย่างถึงเรื่องการกลับใจเสียใหม่ ซึ่งมีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์แล้วก็ตาม เป็นการดีมากที่ท่านจะกลับไปอ่านพระคัมภีร์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ท่านได้เรียนจบบทนี้แล้ว
ตัวอย่างบุคคล | ได้ยิน | เชื่อ | กลับใจใหม่ | สารภาพ | รับบัพติศมา |
1. วันเพ็นเทศเต กิจการ 2.36-42) | X | X | X | X | |
2. ชาวซะมาเรีย (กิจการ 8.4-12) | X | X | X | ||
3. ขันที (กิจการ 8.26-39) | X | X | X | X | |
4. เซาโล (เปาโล) (กิจการ 22.1-16, 9.17-20) | X | X | |||
5.โกระเนเลียว (กิจการ 10.25-48, 11.12-14) | X | X | |||
6.ลุเดีย (กิจการ 16.13-15) | X | X | |||
7.นายคุกชาวฟิลิปปอย (กิจการ 16.23-24) | X | X | X | ||
8.ชาวโกรินโธ (กิจการ 18.4-11) | X | X | X | ||
สรุป
|
X | X | X | X | X |
ตัวอย่างข้อพระธรรมอื่น ๆ
นอกเหนือจากตัวอย่างของการหันกลับซึ่งได้ศึกษาแล้วในหนังสือกิจการ เรามีข้อพระธรรมอื่น ๆ อีกมาก เพื่อชี้ให้เราทราบว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อจะได้รับความรอดตามที่กล่าวไว้ในตัวอย่าง เราสามารถอ่านพบได้จากข้อพระธรรมอื่น ๆ อันเป็นข้อความในทำนองเดียวกัน
1. การได้ยินได้ฟังพระกิตติคุณ เปาโลได้กล่าวไว้ใน โรม 10.14 "แต่คนที่ยังไม่ได้เชื่อในพระองค์ เขาจะร้องขอพระองค์อย่างไรได้" และในข้อ 17 "เหตุฉะนั้นความเชื่อได้บังเกิดขึ้นก็เพราะได้ฟัง และการได้ฟังนั้นก็เพราะฟังพระคำของพระคริสต์" ในกิจการ 18.8 เราอ่านว่า "และชาวโกรินโธหลายคนเมื่อได้ฟังแล้วก็ได้เชื่อถือและรับบัพติศมา" ข้อความอื่นที่สัมพันธ์กันคือ มัดธาย 7.24-27, ลูกา 8.20-21, มัดธาย 13.15
2. ความเชื่อ เพราะว่าบทเรียนทั้งหมดนี้หนักไปในหัวข้อเรื่อง ความเชื่อ จึงได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้เพียงย่อ ๆ ผู้เขียนหนังสือเฮ็บรายได้รวบรวมความสำคัญขอความเชื่อไว้ดังนี้คือ "แต่ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว จะเป็นที่ชอบพระทัยพระเจ้าก็หามิได้ เพราะว่าผู้ที่มาหาพระเจ้าต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ และพระองค์เป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์" (เฮ็บราย 11.6)
3. การกลับใจเสียใหม่ คำว่า "กลับใจเสียใหม่" มาจากภาษากรีก "เมธาโนอีโอ" ความหมายตรงตราตัวอักษรว่า "การคิดที่แตกต่าง" อันเป็นการบ่งให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจิตใจเกี่ยวกับความบาป ซี่งกระทำให้นำไปถึงซึ่งการเปลี่ยนแปลงความประพฤติ การกลับใจเสียใหม่นั้นไม่เพียงแต่มีความรู้สึกเสียใจในความบาป เพราะ "ความเสียใจอย่างที่ชอบพระทัยพระเจ้าย่อมกระทำให้กลับใจเสียใหม่" (2โกรินโธ 7.10) รวมทั้งการตัดสินใจที่จะหันกลับไม่กระทำบาป ในกิจการ 17.30 เราอ่านว่า "ในเวลาเมื่อมนุษย์ยังโฉเขลาอยู่พระเจ้ามิได้ทรงถือโทษ แต่เดี๋ยวนี้พระองค์ได้ตรัสสั่งแก่มนุษย์ทั้งปวงทั่วทุแห่งให้กลับใจเสียใหม่" พระเยซูกล่าวว่า "เราบอกท่านทั้งหลายว่ามิใช่ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมิได้กลับใจเสียใหม่จะต้องพินาศเหมือนกัน" (ลูกา 13.3) (โปรดดู 2เปโตร 3.9, ลูกา 24.46-47, ลูกา 15.7)
4. การสารภาพ ในขั้นต่อไปพระคัมภีร์ได้บอกว่าเราต้องสารภาพพระเยซูต่อหน้าคนทั้งปวง พระเยซูกล่าวว่า "เหตุดังนั้นทุกคนที่จะรับเราต่อหน้ามนุษย์ เราจะรับผู้นั้นเฉพาะพระพักตร์พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ แต่ถ้าผู้ใดจะปฏิเสธเราต่อหน้ามนุษย์ เราจะปฏิเสธผู้นั้นเฉพาะพระพักตร์พระบิดาของเราผู้อยู่ในสวรรค์ด้วย" (มัดธาย 10.32-33) และใน โรม 10.10 พระคัมภีร์กล่าวว่า "ด้วยว่าซึ่งมีใจเชื่อก็เป็นการชอบธรรม และซึ่งรับด้วยปากก็เป็นที่รอด" ตัวอย่างของการสารภาพในพระคัมภีร์ ปรากฏในรายของขันทีชาวเอธิโอเปีย ในกิจการ 8.36-37 เราอ่าน "ขันทีจึงบอกว่า นี่แน่ะ มีน้ำมีอะไรขัดข้องไม่ให้ข้าพเจ้ารับบัพติศมา ฟิลิปจึงตอบว่า ถ้าเต็มใจเชื่อท่านก็รับได้ และขันทีจึงตอบว่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระบุตรของพระเจ้า" "คำปฏิญาณอันดี" นี้ไม่ใช่ทำไปสักแต่ว่าเป็นหน้าที่เท่านั้น แต่เป็นสิทธิของทุกคนที่จะเป็น คริสเตียน (1ติโมเธียว 6.13)
5. รับบัพติศมา เพราะคนส่วนมากตระหนักถึงความสำคัญสี่ประการที่ได้กล่าวมาแล้ว ต่อไปนี้เราจะได้ศึกษาก้าวที่สำคัญอันหนึ่งในการเป็นคริสเตียน ก้าวดังกล่าวนี้คือ บัพติศมา
ทำไมจึงต้องรับบัพติศมา
ในกิจการ 10.48 เราอ่านว่า "เปโตรจึงสั่งให้เขารับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูคริสต์" บางคนไม่เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการที่พระเจ้าทรงสั่งให้รับบัพติศมา ความรู้สึกเช่นนี้ก็เหมือนกับการที่นามานปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำตรัสสั่งของพระเจ้า ที่ให้เขาจุ่มลงในแม่น้ำยาระเดน เพื่อจะได้หายจากโรคเรื้อน (2พงศาวดารกษัตริย์ 5.1-14) คนเหล่านี้มี "เหตุผล" เหมือนกับนามาน คือเขาคิดว่าน้ำไม่มีเหตุผลอันใดที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับความรอด เพราะฉะนั้นเขาจึงสรุปเอาว่าการที่บุคคลจะรับบัพติศมาหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของส่วนบุคคล จุดสำคัญที่จะต้องเข้าใจให้ชัดเจนอันนั้นก็คือ แม้ว่าน้ำเฉย ๆ ไม่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์อะไรที่จะทำให้เรารอด บัพติศมาเป็นคำตรัสสั่งโดยตรงของพระเจ้า เพราะฉะนั้นการรับบัพติศมาจึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งซึ่งเหมือนกับคำตรัสสั่งของพระเจ้าอันอื่น ๆ (กิจการ 10.48, โยฮัน 14.21, มัดธาย 7.21)
ในกิจการ 2.38 เปโตรกล่าวว่า "จงกลับใจเสียใหม่ และรับบัพติศมาในนามแห่งพระเยซูคริสต์สิ้นทุกคน เพื่อความผิดบาปของท่านจะทรงโปรดยกเสีย และท่านจะได้รับพระราชทานพระวิญญาณบริสุทธิ์" ถ้าการกลับในเสียใหม่เป็นการจำเป็นสำหรับความรอด เพราะฉะนั้นบัพติศมาก็จำเป็นสำหรับความรอดด้วยเหมือนกัน พระเยซูคริสต์เจ้าได้ตรัสว่า "ผู้ใดได้เชื่อและรับบัพติศมาแล้วผู้นั้นจะรอด แต่ผู้ใดไม่เชื่อจะต้องปรับโทษ" (มาระโก 16.16) มีหลายคนถึงความพินาศ เพราะการที่เขาทั้งหลายไม่มีความเชื่อ เพราะฉะนั้นเราต้องมีความเชื่อ และรับบัพติศมาเพื่อที่จะให้พระเจ้าทรงพอพระทัย
พระคัมภีร์สอนว่าเราจะไม่ก้าวไปสู่ก้าวสุดท้าย อันจะนำเราให้เข้าสนิทกับพระคริสต์ เว้นไว้แต่เราจะได้รับบัพติศมาถูกต้องตามพระคัมภีร์เสียก่อน เปาโลได้กล่าวดังนี้ว่า "เหตุว่าคนทั้งหลายที่รับบัพติศมาเข้าสนิทกับพระคริสต์แล้วก็ได้ตกแต่งตัวด้วยพระคริสต์" (ฆะลาเตีย 3.27, 2ติโมเธียว 2.10) พระเยซูคริสต์ได้กล่าวว่า "เราบอกท่านตามจริงว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้บังเกิดจากน้ำและพระวิญญาณ จะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้" (โยฮัน 3.5) แม้ว่าเปาโล (เซาโล) จะได้เห็นพระเยซูบนเส้นทางที่จะไปยังเมืองดาเมเซ็ก และได้อธิษฐานเป็นเวลาสามวันแล้วก็ตาม แต่เปาโลก็ยังไม่รอดจนกว่าจะได้รับบัพติศมาให้ถูกต้องตามพระคัมภีร์เสียก่อน พระเจ้าได้ส่งอะนาเนียซึ่งเป็นผู้ประกาศให้ไปหาเปาโล อะนาเนียได้กล่าวว่า "บัดนี้ท่านจะรอช้าอยู่ทำไม จงลุกขึ้นรับบัพติศมา เพื่อความผิดบาปของท่านจะถูกลบล้าง และอธิษฐานออกพระนามของพระองค์เถิด" (กิจการ 22.16) "คราวเมื่อพระเจ้าทรงโปรดงดโทษไว้นาน คือ ครั้งโนฮา เมื่อท่านกำลังจัดแจงต่อนาวา ในนาวานั้นได้รอดจากน้ำน้อยคน คือแปดคน เช่นนั้นแหละบัดนี้พิธีรับบัพติศมาก็เป็นที่รอดแก่เราทั้งหลาย (ไม่ใช่ด้วยชำระราคีแห่งเนื้อหนัง แต่โดยให้มีใจวินิจฉัยผิดและชอบอันดีจำเพาะพระเจ้า)" (1เปโตร 3.20-21) ทารกไม่จำเป็นต้องรับบัพติศมา เพราะว่าทารกนั้นยังไม่มีอายุสามารถรับผิดชอบในตัวเองได้มากพอที่จะรับบัพติศมา ดังนั้นทารกจะไม่ถูกลงโทษ (มัดธาย 18.2-4, ยะเอศเคล 18.20) อันที่จริงบุคคลจะรับบัพติศมาในฝ่ายวิญญาณจิตเป็นไปไม่ได้ จนกว่าบุคคลนั้นจะได้ถูกสอนให้ทราบถึงเรื่องพระกิตติคุณเสียก่อน เชื่อ, กลับใจเสียใหม่ และสารภาพความเชื่อที่มีอยู่ในพระคริสต์ (มัดธาย 28.19, กิจการ 8.35-36, กิจการ 2.38)
บัพติศมาคืออะไร
ตามพจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษสมัยใหม่ ให้ความหมายคำว่า Baptism ไว้ว่า "การพรมหรือการฝังลงในน้ำ" ความหมายอันนี้ไม่มีความแน่ใจนัก เพราะเหตุว่าผู้ที่เขียนพจนานุกรมมิได้เขียนตามความหมายอันแท้จริงที่ปรากฏในพระคัมภีร์ แต่ได้ให้ความหมายตามพิธีกรรมปฏิบัติของมนุษย์มากกว่า ซึ่งไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนตามความหมายที่แท้จริง บางนิกายหรือกลุ่มศาสนาบางพวกได้เรียนแบบอย่างมานาน คือเขาใช้การพรม หรือการเทแทนบัพติศมา อันไม่ถูกต้องตามพระคัมภีร์ การปฏิบัติตามพิธีกรรมอันนอกคอกนั้น เราไม่สามารถพบอำนาจที่ตรัสสั่งไว้ในพระคัมภีร์ แท้ที่จริงแล้วคำว่า "บัพติศมา" มีความหมายตามตัวอักษรว่า การฝัง ไม่ใช่การพรมหรือการเท นักวิชาการในด้าน Greek Lexicographer มิได้แปลความหมายของคำว่า "Baptizo" เป็น "การพรม" หรือ "การเท" ความจริงแล้วภาษากรีกอันเดิมมีความหมายห่างไกลกันมากทีเดียว ประวัติศาสตร์ช่วยให้ทราบว่า พิธีกรรมอันนอกคอกไม่เคยปฏิบัติมาก่อนเลย จนเมื่อปี ค.ศ.1311 ที่ประชุมของคณะโรมันคาธอลิค ซึ่งได้ประชุมกันที่ Ravenna ผลที่ประชุมได้ประกาศพิธีกรรมของบัพติศมาโดยการเท หรือ พรม แทนการฝัง
ในทางตรงกันข้ามกับความคิดของมนุษย์ พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บอกไว้ชัดเจนทีเดียวว่าบัพติศมานั้นเป็นการฝังหรือจุ่มลงไปในน้ำ บัพติศมาที่แท้จริงนั้นพระคัมภีร์บอกว่าจะต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้คือ
ก. มีน้ำมาก - โยฮัน 3.23 การพรมหรือการเทรดนั้นไม่จำเป็นต้องมีน้ำมาก
ข. ไปยังที่มีน้ำ - กิจการ 8.36 ถ้าเป็นการเทหรือการพรมโดยปกติจะมีคนนำเอาน้ำมาให้
ค. ลงไปในน้ำ - กิจการ 8.36-39 ข้อความนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าบัพติศมาตามแบบพระคัมภีร์เป็นการเทหรือพรม
ง. การฝังผู้ที่จะรับบัพติศมา - โรม 6.4 ที่จะปฏิบัติได้อย่างถูกต้องก็จะต้องจุ่ม
จ. การเป็นขึ้นมา - โกโลซาย 2.12 ถ้าเป็นการเทรดหรือพรมย่อมทำไม่ได้
ฉ. ขึ้นมาจากน้ำ - มาระโก 1.9-10, กิจการ 8.39 ถ้าบัพติศมาเป็นการเทหรือพรมย่อมจะเข้ากันไม่ได้เลย เพราะการที่จะขึ้นจากน้ำย่อมจะต้องมีการจุ่มลงไปในน้ำก่อน
เราใคร่วิงวอนให้ท่านอ่านข้อพระคำเหล่านี้จากพระคัมภีร์ของท่านเอง แม้ว่าข้อความบางตอนอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับในวงการนิกายศาสนาต่าง ๆ ก็ตาม แม้แต่พระเยซูเองในสมัยที่พระองค์ทรงกระทำพระราชกิจในโลกนี้ ก็มีคนที่ไม่ยอมรับคำสอนของพระองค์เหมือนกัน แต่ความจริงก็คือว่า ความเท็จจะทำลายความจริงไม่ได้ ความจริงก็ยังคงเป็นความจริงอยู่นั่นเอง ขอให้พระเจ้าอวยพรให้ท่านเข้าใจดีขึ้นในการที่ท่านแสวงหาที่จะปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระองค์
ตอบคำถาม คลิกที่นี่ https://docs.google.com/forms/d/1ZNlmMdGlCQfSOh0KQ1Ytb2X9ZtoFPi3eWXZeNOETFhA/viewform?usp=send_form